วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมา



Image result for ประวัติความเป็นมาไข่เค็ม


              ไข่เค็มเป็นภูมิปัญญาของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง ซึ่งคนสมัยก่อนทำไข่เค็มเพื่อเก็บไว้บริโภคในยามที่ขาดแคน หรือเพื่อยืดอายุการเก็บของไข่ ที่เหลือจากการบริโภคสด และถือเป็นภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับเทคโนโลยีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาช้านาน ต่อมาไข่เค็มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น มีความหลากหลาย ทั้งวัตถุดิบที่ใช้เป็นส่วนผสม มีคุณประโยชนที่หลากหลาย มีรสชาติที่แตกต่างกัน ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการค้า มีการไปจำหน่ายในรูปของไข่เค็มทั้งที่เป็นไข่สด และไข่ที่ต้มแล้วสามารถนำไปบริโภคได้เลย หรืออาจนำไปทำเป็นไส้ขนมต่าง ๆ เช่น ขนมเปี๊ยะ ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมบ๊ะจ่าง ตลอดจนนำใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ได้อีกด้วยในเขตพื้นที่ตำบลโคกสำโรง ผู้ริเริ่มทำไข่เค็มคนแรก คือ คุณยายสำลี ในสมัยก่อนวิธีทำจะใช้ดินเหนียวผสมเกลือแล้วนำมาพอกไข่ทิ้งไว้จนเค็มแล้วจึงนำไปต้ม หากไม่ต้องการรับประทานก็ยังไม่ต้องล้างดินออก แต่ไข่อาจมีรสชาติเค็มกว่าเดิมบ้างเล็กน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2544 กลุ่มสตรีในเขตเทศบาลตำบลโคกสำโรง ได้รวมตัวกัน จัดตั้งเป็นกลุ่มสตรีแม่บ้านโคกสำโรง มีสมาชิก 13 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์ และต้องการมีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก จึงคิดที่จะผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายโดย และได้ระดมเงินทุนกัน ครั้งแรก เป็นเงิน 15,600 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) ซึ่งสมาชิกได้ตัดสินใจที่จะทำไข่เค็ม เพราะเห็นว่าในตลาดไข่เป็ดมีราคาถูกและมีเป็นจำนวนมากแนวความคิดซึ่งได้มาในตัวผลิตภัณฑ์ จากสมัยก่อนที่คุณยายสำลีได้ทำไข่เค็มโดยใช้ดินเหนียวพอก แต่คุณระวิวรรณ ยุ้ยจำเริญทรัพย์ ประธานกลุ่ม ฯ กลับเห็นว่าจังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ทำให้ดินสอพองมีราคาถูก ทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรีอีกด้วย จึงได้แนวคิดดังกล่าวนำมาผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP “ ไข่เค็มดินสอพอง”ต่อมากระแสการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชนได้รับความนิยมสูง กลุ่มสตรีแม่บ้านโคกสำโรง จึงได้มีความคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย โดยพัฒนา ไข่เค็มดินสอพองสูตรดั้งเดิมเป็นผลิตภัณฑ์ไข่เค็มชนิดต่าง ๆ


  ประโยชน์ของไข่เค็ม


Image result for ประวัติความเป็นมาไข่เค็ม



             ประโยชน์ของไข่เค็มนั้นมีมากมายอย่างน่าอัศจรรย์เลยทีเดียวค่ะ แต่ถ้าจะได้ ประโยชน์ของไข่ อย่างสูงสุดก็ควรที่จะมีการบริโภคหรือการกินไข่ที่เหมาะสมตามวัยกันอีกด้วย เพื่อที่จะได้รับ ประโยชน์ของไข่ อย่างเต็มที่ให้กับร่างกาย และวันนี้เราก็นำเกร็ดความรู้เรื่องประโยชน์ของไข่และการบริโภคไข่ที่เหมาะสมมาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้รับความรู้และปฏิบัติตามกันอย่างควบคู่กันไปเพื่อสุขภาพที่ดี โดยปกติคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกรับประทานไข่เป็นอาหารหลักกันอยู่แล้วไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยเท่านั้นต่างชาติหลายๆ ประเทศก็มักจะนิยมบริโภคไข่เป็นอาหารหลักด้วยกันทั้งนั้น

        1. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9ชนิด
                2. ผลจากการทำวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ แถมยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนเส้นเลือดอุดตันในสมองและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
                3. ไข่เป็นแหล่งโคลีนที่ดี โดยโคลีนอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีจัดเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม
                4. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงร้อยละ 44
                5. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มีซัลเฟอร์สูงรวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์หรือวิตามินบี12 มาก่อน 
สิ่งที่ต้องเตรียม

        • ไข่เป็ดดิบ 10 ฟอง
        • ภาชนะสำหรับดองไข่ (เลือกภาขนะที่ไม่ทำปฏิกิริยากับเกลือ เช่น โหลแก้ว แก้วพลาสติก กะละมัง หรือเครื่องเคลือบดินเผา) 
        • เกลือ 1 ถ้วย
        • น้ำสำหรับต้มน้ำเกลือ 4 ถ้วย (หรือ 1 ลิตร)


วิธีทำไข่เค็ม 

         1. ล้างไข่เป็ดให้สะอาด สะเด็ดน้ำจนแห้งสนิท ใส่ลงในโหลแก้ว เตรียมไว้
         2. ทำน้ำเกลือสำหรับดองไข่ โดยใส่เกลือกับน้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟจนเดือด และคนให้เกลือละลายจนหมด ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
         3. เทน้ำเกลือที่เย็นแล้วลงในโหลไข่จนท่วมไข่ จากนั้นใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำวางทับลงไปให้ไข่เป็ดจมอยู่ใต้น้ำ ตลอดเวลา ปิดฝาให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 2-3 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ดาว เก็บไว้นานประมาณ 2 อาทิตย์ สำหรับทำไข่ต้ม เก็บไว้นานประมาณ 3 อาทิตย์ 


ทำอย่างไรให้ไข่แดงเค็มเป็นน้ำมัน ?

           หลายคนชอบกินไข่เค็มที่มีไข่แดงเป็นน้ำมันเยิ้ม ๆ ออกมา เพราะทั้งมัน ทั้งอร่อย เทคนิคก็คือ หลังจากที่พักน้ำเกลือจนเย็นสนิทแล้ว ให้เติมเหล้าขาวลงไปในน้ำเกลือด้วยเล็กน้อย คนผสมให้เข้ากัน แล้วเทใส่ลงในโหล จะทำให้ไข่แดงเค็มที่ได้ก็จะเป็นน้ำมันเยิ้ม ๆ น่ากินนั่นเองค่ะ


วิธีต้มไข่เค็มให้อร่อย

           การที่จะต้มไข่เค็มให้อร่อยนั้น มีเคล็ดลับอยู่ที่ "สารส้ม" ทำได้โดยใส่น้ำลงในหม้อ ใส่สารส้ม 1 ก้อน หรือสารส้มป่นประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ ตามด้วยไข่ไก่ นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง ต้มจนเดือด นานประมาณ 8-10 นาที ก็จะได้ไข่เค็มต้มสุดอร่อยไว้กินแล้ว


วิธีเก็บไข่เค็มต้มให้ได้นานที่สุด

           ไข่เค็มที่นำไปต้มแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานประมาณ 1 เดือน ส่วนวิธีการเก็บรักษาไข่เค็มต้มให้ได้นานที่สุดคือ ให้ใส่สารส้มลงไปแกว่งในน้ำที่ใช้ต้มไข่ด้วย นอกจากจะยืดอายุไข่เค็มได้แล้ว สารส้มจะทำให้สีของเปลือกไข่ และเนื้อไข่ขาวสวยขึ้นอีกด้วย


                                            Image result for อุปกรณ์การทําไข่เค็ม


ไข่เค็มประโยชน์นั้นมีมากมาย
คุณค่าทางโภชนาการของไข่
ไข่ไก่ 1 ฟอง น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 50 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี โปรตีน 7 กรัม ซึ่ง FAO ได้จัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด มีค่า Biological Value เป็น 100 ซึ่งหมายความว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าโปรตีนชนิดอื่น มีไขมัน 6 กรัม และยังให้วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี1 บี2 บี3 บี6 และ บี12 ธาตุเหล็ก lecithin เป็นต้น คุณค่าทางโภชนาการของไข่ไก่และไข่เป็ดจะใกล้เคียงกัน
โคเลสเตอรอล เป็นสารอาหารประเภทไขมัน แต่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย พบในอาหารที่ได้จากสัตว์ในปริมาณที่แตกต่างไปตามชนิด และอวัยวะของสัตว์นั้น ๆ โคเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย พบได้ทุกเซลล์ในร่างกาย ใช้สร้างฮอร์โมนเพศ กรดน้ำดี (bile arid) เพื่อใช้ในการดูดซึมไขมัน และวิตามินที่ละลายในไขมัน เข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร   โคเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารที่เรารับประทาน (Dietary Cholesterol) ไม่ได้แปลงไปเป็นโคเลสเตอรอลในเลือดโดยตรง  ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือด ร้อยละ 80-90 นั้น ร่างกายเราสร้างขึ้นมาเองจากการทำงานของตับ และวัตถุดิบหลักที่ตับใช้ในการสร้างโคเลสเตอรอล คือ น้ำตาล  ดังนั้น การรับประทานอาหารหวาน ๆ เมื่อร่างกายใช้ไม่หมด ก็จะถูกแปลงเป็นไขมันแทน เป็นสาเหตุของไขมันในเลือดสูง
นอกจากนี้ ชนิดของไขมันที่มีในอาหารที่เรารับประทาน เช่น ไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated Fat) และ Trans Fatty Acids  ก็มีส่วนส้มพันธ์กับการเพิ่มของโคเลสเตอรอล และมีส่วนที่จะกำหนดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ ถ้าการเพิ่มของระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเป็นชนิด LDL Cholesterol (Low Density Lipoprotein Cholesterol) หรือโคเลสเตอรอลชนิดเลว
ปัจจุบันนี้คิดว่า ปัจจัยที่ส้มพันธ์กับการมี LDL Cholesterol สูง คือ บุหรี่ ความอ้วน เบาหวาน ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมี HDL Cholesterol สูง (โคเลสเตอรอลชนิดดี) คือ ความสมดุลของการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน  สิ่งแวดล้อม และจิตใจดีมีคุณธรรมซึ่งทำให้ไม่เครียด   จากรายงานการศึกษาวิจัยที่เชื่อถือได้หลายการศึกษาที่โด่งดัง เช่น Framingham Study ได้สรุปว่า
          1. ไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลกับระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
          2. ไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างระดับโคเลสเตอรอลในเลือดกับโรคหัวใจ
ความรู้เรื่องโคเลสเตอรอลดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับการกินไข่จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ไข่ถูกมองว่าเป็นอาหารที่มีโคเลสเตอรอลค่อนมาก (ไข่ไก่ 1 ฟองมีโคเลสเตอรอล เฉลี่ยประมาณ 180-250 มิลลิกรัม) ได้มีการกำหนดให้ร่างกายควรได้รับโคเลสเตอรอลจากอาหารไม่กิน 300 มิลลกรัมต่อวัน    โคเลสเตอรอลที่มีในไข่จะอยู่เฉพาะในไข่แดง ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล ในไข่แดงยังมีเลซิธิน (Lecithin) ซึ่งจะไปช่วยอิมัลซิฟายไขมัน ทำให้ไขมันแตกตัวเป็นอนุภาพเล็ก ๆ และไหลเวียนไปกับกระแสเลือด ป้องกันการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด เลซิธินยังเป็นสารที่ช่วยบำรุงประสาท และสมอง จากคุณสมบัติของเลซิธินดังกล่าว จึงมีการผลิตขายในรูปของอาหารเสริม เพื่อช่วยป้องกันปลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจ บำรุงสมอง ทำให้สมองทำหน้าที่ได้อย่างปกติ  ช่วยย่อยไขมัน ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน แต่มีราคาแพงมาก ถ้าเรารับประทานไข่แดงร่างกายก็ได้รับเลซิธิน ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ในราคาถูกอีกด้วย
Image result for วัตถุประสงค์ ของไข่เค็ม




จัดทำโดย

นายวันชัย หนูเส็ง

อ้างอิง

https://www.google.co.th
https://th.wikipedia.org